ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาท้องถิ่น เพื่อคนไทยทุกคน

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ

วิเคราะห์อ่านข้อบัญญัติไม่รู้เรื่องจะทำอย่างไร

มี จนท.วิเคราะห์ อบต.หนึ่งใน อ.ขามฯ ที่อ่านข้อบัญญัติไม่รู้เรื่อง คุณคิดว่าเขาสมควรที่จะได้รับการประเมินขั้นรึไม่

โดยคุณ 555 (203.113.20.132) [29 Sep 2008 12:58]




เขาเป็นคนใบ้หรือเปล่า

โดยคุณ 666 (125.25.206.79) [29 Sep 2008 13:47] #41502 (1/16)

อ่านหนังสือกลับหัว รึเปล่า

โดยคุณ 777 (203.156.191.117) [29 Sep 2008 15:04] #41505 (2/16)

1 เขาอ่านแล้วคุณไม่รู้เรื่อง = เขาอาจพูดไม่ชัด
2 เขาอ่านเองแล้วไม่รู้เรื่อง = คนเขียนอาจเขียนไม่ชัด
3 เขาอ่านไม่รู้เรื่องทั้งที่คนเขียนรู้เรื่อง = เขาอาจพูดเร็วไปคนฟังไม่รู้เรื่อง
4 เขาอ่านไม่รู้เรื่องทั้งที่คนอื่นอ่านรู้เรื่อง = เขาอาจไม่มีสติ หรือ สมาธิในการอ่าน
5 เขาให้คนอื่นอ่าน และตั้งใจฟังอย่างมีสติ เขาก้อยังไม่รู้เรื่อง = คนเขียนอาจใช้คำมีจินตนาการสูงเกินไป ไม่เข้าใจฐานะคนอ่านให้คนฟัง
6 คนอ่านเข้าใจ แต่คนฟังไม่เข้าใจ = คนอ่านอาจจะอ่านเอาแต่ใจตัวเอง ไม่นึกถึงคนฟัง

สรุป เขาก้อยังเป็นคนเหมือนคนอื่น สมควรที่จะได้รับการประเมินขั้น


โดยคุณ ต่อด้วย 777 (210.246.178.51) [29 Sep 2008 15:12] #41506 (3/16)

เค้าอ่านข้อบัญญัติไม่รู้เรื่อง...เค้าอาจจะอ่านใจคนประเมินออกก็ได้นะ..

โดยคุณ อยากคุยด้วย (117.47.169.34) [29 Sep 2008 20:57] #41514 (4/16)

การประเมินขั้นถ้าพูดไปสมควรได้รับการประเมินทุกคนการอ่านข้อบัญญัติเรารู้ว่าเขาอ่านไม่รู้เรื่องทำไมไม่อธิบายหรือบอกเล่าให้เขารู้เรื่องล่ะ เขาจะได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้เขาอาจจะพยายามแต่คุณอาจไม่เปิดใจสอนหรือทำให้เขาเข้าใจทำใจให้เป็นกลาง สมกับเป็นผู้บริหารอย่าคิดทำเพื่อความคิดเห็นส่วนตัว บางอย่างเขาอาจทำให้คุณได้ดีกว่าเรื่องที่คุณตำหนินี้ก็ได้ เรื่องเล็กๆ อย่าทำให้เด็กต้องเสียอนาคตเพราะคุณเลย มีอะไรบอกสอนกันได้ คิดถึงใจเขาใจเรา พยายามผลักดันพนักงานของตัวเองให้เก่ง ให้ดีแล้วดีใจไปกับเขาเมื่อเขาเจริญขึ้น คุณจะชนะใจพนักงานทุกคน (สบายงานทุกอย่างไม่ต้องทำเองดีมั้ย) คิดดูนะคะ

โดยคุณ คุณนะธรรม (203.113.20.132) [30 Sep 2008 09:02] #41516 (5/16)

ผู้เป็นหัวหน้าที่ดีควรปฏิบัติอย่างไรต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เราทำงานมาหลายแห่งทั้งเอกชนและในหน่วยงานราชการเราพบผู้เป็นหัวหน้าหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเจอหัวหน้าระดับกลาง ๆ คือ ดูแลลูกน้อง สอนงาน ไม่ดูถูกลูกน้อง ไม่เลือกปฏิบัติหรือลำเอียงกับลูกน้องคนใดเป็นพิเศษ จนกระทั่ง ณ ที่ทำงานที่ทำอยู่นี้มีหัวหน้าประเภทหนึ่งคือชอบลูกน้องประจบสอพลอ ต่อหน้าทำแบบหนึ่งลับหลังทำอีกแบบหนึ่ง ส่วนลูกน้องขยันทำงานงกงกไม่เห็นความดีมีแต่ดุด่าว่ากล่าวพูดจาไม่ไพเราะต่อลูกน้องที่ตั้งใจทำงานให้ แต่ลูกน้องพวกใช้ปากทำงานยกย่องว่าดี แต่งตัวไม่ถูกระเบียบไม่เคยว่าเห็นดีเห็นงามไปหมด ลางานก็บ่อย ลาครึ่งวันก็บ่อย ลาพักผ่อนครั้งละหลายวันก็อนุญาต
ส่วนคนที่บ้านอยู่ต่างจังหวัดขอลาหลายวันประมาณ 3 - 5 วันไม่อนุญาตแถมบังคับให้ทำงานให้เสร็จถ้าไม่เสร็จไม่ให้ลา จะเห็นว่าเกิดความแตกต่างเกิดการเปรียบเทียบ คนทำงานก็ท้อใจบ่อยครั้ง บางคนถูกต่อว่าทุกอะนู ไม่ว่าจะขยับตัวทำอะไรถูกว่ากล่าวแบบประจานลูกน้องต่อหน้าสาธารณชน ไม่ให้เกียรติลูกน้องเหมือนลูกน้องที่ทำงานด้วยความทุ่มเทเป็นตัวอะไม่ทราบ แต่ลูกน้องพวกประจบสอพลอเป็นพระเจ้าเทอดทูนกันเหลือเกิน ยกย่องกัน พูดจาดูหมิ่นดูแคลนสบประมาทลูกน้องที่ทำงานงกงก หัวหน้าที่นี่เป็นเอามากบ้าอำนาจมากๆ
ลืมนึกถึงสมัยตนเองเป็นลูกน้องหมดแล้ว ไม่เคยตรึกตรองเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นหัวหน้าที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมจริงๆ มีการให้หัวหน้าประเมินลูกน้อง แต่ทำไม่ไม่ให้ลูกน้องประเมินหัวหน้าบ้างถ้าหัวหน้าดีจริงลูกน้องต้องประเมินให่ดีอยู่แล้วไม่มีทางที่จะมีการแกล้งกันแน่นอน (เพราะเราเจอหัวหน้าที่ดีอีกคนหนึ่งแล้วหัวหน้าคนเดิมก่อนที่จะมีคนนี้เขาเอาใจใส่ รับฟังความเดือดร้อน รับฟังความคิดเห็นของลูกน้องทุกคน ให้ความช่วยเหลือ คอยเป็นปากเสียงให้ลูกน้องต่อสู้ให้ลูกน้องทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน ในครอบครัวก็ให้คำแนะนำที่ดี สอนงานให้เราด้วย) ท่านเคยเจอเคยมีหัวหน้าที่เลือกปฏิบัติต่อลูกน้องไหม พูดง่ายๆคือลำเอียงเลือกขี้รักมักขี้ชัง แต่ในความคิดของเรา หัวหน้าที่ดีควรจะเป็น
1. เป็นที่พึ่งของลูกน้องในยามที่ลูกน้องมีปัญหาเรื่องงาน
2. ต้องรับฟังเหตุผลและปัญหาของลูกน้องด้วยใจเป็นกลาง
3. ต้องไม่หูเบาฟังความข้างเดียว (คือมีความยุติธรรม)
4. การว่ากล่าวตักเตือนลูกน้องควรจะพูดในห้อง หรือพูดขณะที่ไม่มีคนอยู่พูดตัวต่อตัวจะดูดีกว่าที่จะตะโกนด่าว่าปาว ๆ มองภาพโดยรวมดูไม่ดีเสียด้วยซ้ำในสายตาของคนอื่น
5. ควรใจเย็นไม่วู่วาม ไม่นินทาลูกน้องทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง ไม่พูดจาดูหมิ่นดูแคลนลูกน้อง ใช้ถ้อยคำสรรพนามเรียกลูกน้องว่า " มัน" ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นหัวหน้ามีอำนาจล้นฟ้า ดูในหลวงท่านเป็นตัวอย่างรักคนไทยทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนท่านรักหมดโดยเฉพาะคนจนท่านสนใจคิดช่วยเหลือ ไม่เพิกเฉยเมินเฉย ท่านยังใส่ใจมากกว่าคนที่มีอำนาจกินเงินเดือนหลวงแถมวางกล้ามบ้าอำนาจอีกอนิจังจะคิดบ้างไหมว่ามันเป็นแค่สมมุติ สิ้นอำนาจวาสนาแล้วใครเขาจะมานอบน้อมตัวเมื่อตัวเองเป็นหัวหน้าที่แย่มากๆ คนประเภทนี้น่าสงสาร"


โดยคุณ ผู้หวังดี ( ประสงร้าย ) (203.156.191.117) [30 Sep 2008 10:34] #41520 (6/16)

ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไร ...ให้เป็นธรรม



ในทุก ๆ ปี แน่นอนว่าเกือบจะทุก หน่วยงานย่อมต้องมีช่วงเวลาให้หัวหน้างานประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง บางบริษัทจะประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ช่วงเวลา คือ กลางปี และปลายปี แต่บางบริษัทจะประเมินผลการปฏิบัติงานผลเฉพาะช่วงปลายปีเท่านั้น และนอกจากนี้การประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานทดลองงานก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของหัวหน้างานเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่หัวหน้างานแต่ละคนจะต้องทำ และสิ่งที่อยากจะฝากให้หัวหน้างานแต่ละคนหลีกเลี่ยงนั่นก็คือ “ อคติ ” ที่เกิดขึ้นในช่วงของการประเมิน ซึ่งเป็นการประเมินผลที่ไม่ได้พิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานจริงของลูกน้อง แต่กลับไปประเมินผลจากการพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ เป็นเกณฑ์ ได้แก่

อิงกับการขึ้นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนต่าง ๆ -- หัวหน้างานกลัวว่าถ้าประเมินผลงานให้ลูกน้องได้คะแนนน้อย ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกน้องได้รับเงินเดือน โบนัสและตอบแทนอื่นๆ น้อยตามไปด้วย และหากคุณคิดเช่นนี้ ขอให้ตระหนักไว้ว่าคุณกำลังคิดผิดอย่างมาก เพราะเท่ากับว่าคุณได้ทำร้ายตัวเองและลูกน้องของคุณ เหตุเพราะคุณจะได้ลูกน้องที่ทำงานไม่เอาไหน ไม่เก่ง และที่ยิ่งร้ายไปกว่านั้น พวกเค้าจะไม่มีการพัฒนาตนเองเลยเพราะคิดผิดว่าทำงานดี ซึ่งก็เท่ากับว่าคุณได้ทำร้ายตัวเองที่ต้องแบกรับภาระงานของลูกน้องของคุณ และในทางกลับกันคุณได้กำลังทำร้ายลูกน้องของคุณเองที่จะมีผลต่อในระยะยาว เพราะพวกเค้าจะไม่รู้ว่าตนเองทำงานไม่ดี ไม่มีพัฒนาการของการทำงาน และสุดท้ายมูลค่าเพิ่มที่อยู่ในตัวจะไม่เกิดขึ้นเลย

ประเมินในระดับปานกลางทุกปัจจัยที่มี -- หัวหน้างานไม่กล้าประเมินลูกน้องตามจริงเพราะเกรงว่าลูกน้องจะโกรธ หรือไม่ชอบหน้าโดยเฉพาะหากประเมินให้ลูกน้องได้คะแนนน้อย ๆ หัวหน้างานเหล่านี้มักจะกลัวเวลาที่จะต้องแจ้งผลการประเมินให้กับลูกน้องของตน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความอึดอัดใจเวลาคุยกับลูกน้อง จึงประเมินผลงานในระดับปานกลาง ไม่สูงหรือต่ำเกินไป คุณรู้ไหมว่าหากคุณประเมินแบบนี้จะทำให้ลูกน้องของคุณไม่รู้ว่าปัจจัยด้านใดที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยด้านใดเป็นจุดอ่อนที่จะต้องพัฒนา

ประเมินโดยเอาตนเองไปเปรียบเทียบ -- หัวหน้างานบางคนเอาตนเองไปเปรียบเทียบหรือแข่งขันด้วย และยิ่งไปเจอหัวหน้างานที่ไฮเปอร์มาก ชอบทำงาน มาเช้ากลับดึก หัวหน้างานประเภทนี้บางคนจะวัดผลงานของลูกน้องโดยเปรียบเทียบกับความสามารถและผลงานของตนเอง หากลูกน้องไม่ใช่ประเภทที่มาทำงานเช้า กลับบ้านดึก เนื่องจากสะสางงานของตนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหัวหน้างานอาจไม่คิดเช่นนั้นแต่กลับมองว่าลูกน้องไม่ขยันหรืออุทิศทุ่มเทตนในการทำงาน และหากคุณประเมินด้วยการเอาตัวคุณเองไปแข่งขันหรือเปรียบเทียบด้วยนั้น คุณรู้ไหมว่าลูกน้องคุณจะเหนื่อยเพราะอาจทำงานไม่ทันคุณ และในที่สุดพวกเค้าอาจไม่ต้องการที่จะทำงานร่วมกับคุณ แบบว่าลาออกดีกว่า สบายใจกว่า

ประเมินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบสด ๆ ร้อน ๆ - หัวหน้าบางคนไม่ประเมินผลงานจากการพิจารณาภาพรวมของผลงานตลอดทั้งปี แต่กลับพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นแบบสด ๆ ร้อน ๆ ทั้งนี้บางคนทำงานดีมาก ผลงานเป็นที่ถูกใจหัวหน้างานเฉพาะช่วงใกล้ ๆ ช่วงประเมินผลการปฏิบัติงาน หัวหน้างานก็จะประเมินให้คะแนนดีถึงดีมาก แต่ในทางตรงกันข้ามมีบางคนที่ทำงานผิดพลาดหรือส่งงานไม่ตรงตามเวลาในช่วงใกล้ ๆ ช่วงประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นเหตุให้หัวหน้างานให้คะแนนประเมินไม่ดีเท่าที่ควร พบว่าหากคุณมีทัศนะในการประเมินแบบนี้จะทำให้คุณได้ลูกน้องคุณระวังตัวอย่างมากในช่วงใกล้ ๆ ประเมินผลงาน เพราะคิดว่าทำงานดีหรือไม่ดีในช่วงก่อนประเมินนั้นก็ไม่ส่งผลอะไรต่อการประเมินผลงานเลย

เน้นความรู้สึก “ พอใจ ” หรือ “ไม่พอใจ ” ของผู้ประเมิน -- หัวหน้างานบางคนประเมินผลงานจากความรู้สึกชอบ/พอใจ หรือความรู้สึกที่ไม่ชอบ/ไม่พอใจเป็นเกณฑ์ พบว่าลูกน้องบางคนเป็นลูกรัก พวกเด็กโปรดของหัวหน้า เหตุเพราะพวกเค้าจะเอาใจเก่ง คอยประจบประแจงสารพัด แบบว่าพวกเข้าถูกทางหรือประพฤติตนเป็นที่โดนใจหัวหน้างาน ซึ่งจะทำให้ลูกน้องประเภทนี้ได้ผลประเมินสูงกว่าลูกน้องคนอื่นที่ไม่ชอบเอาใจหรือไม่ชอบประจบหัวหน้าไปวัน ๆ คุณรู้ไหมว่าหากคุณมีอคติแบบนี้เกิดขึ้นจะทำให้ลูกน้องที่ทำงานเก่ง มุ่งเน้นผลงานเป็นหลักขาดความเลื่อมใสศรัทธาในตัวคุณ ในที่สุดพวกเค้าจะไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน เนื่องจากทำงานดีไม่ดี ก็ได้เท่านั้น และผลที่คุณจะได้รับคือการสูญเสียลูกน้องที่มีความสามารถและเป็นกำลังสำคัญของคุณเอง

ประเมินจากความสามารถหรือผลงานบางเรื่องเป็นเกณฑ์ -- หัวหน้างานบางคนตัดสินลูกน้องจากความสามารถหรือผลงานเฉพาะเรื่อง เช่น ลูกน้องที่โน้มน้าวและเจรจาต่อรองเก่ง หัวหน้างานก็จะตัดสินว่าลูกน้องจะเก่งในเรื่องของการวางแผนงาน การติดตามงาน ซึ่งจะทำให้หัวหน้างานประเมินลูกน้องดีหรือดีมากในทุก ๆ ด้าน และในทางกลับกันหากลูกน้องมีความสามารถหรือผลงานไม่ดีเฉพาะบางด้าน หัวหน้างานกลับประเมินให้ลูกน้องได้คะแนนที่น้อยในทุก ๆ ด้าน เช่น ลูกน้องขายสินค้าไม่ได้ตามเป้ายอดขายที่กำหนด หัวหน้างานก็จะประเมินผลงานของลูกน้องคนนั้นไม่ดีในทุก ๆ ด้าน ทั้งนี้การพิจารณาประเมินผลงานในลักษณะนี้จะทำให้ลูกน้องไม่รู้ว่าปัจจัยด้านใดคือจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เนื่องจากหัวหน้างานได้ตีตราจากการตัดสินใจเพียงแค่ความสามารถหรือผลงานบางด้านไว้แล้ว

จากปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ดิฉันนำเสนอนั้นจะเป็นปัญหาหลัก ๆ ที่พบเจอในช่วงประเมินผลการปฏิบัติงานที่อยากจะให้หัวหน้างานพึงหลีกเหลี่ยง และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการประเมินผลงานมากขึ้น ดิฉันขอนำเสนอเทคนิคที่หัวหน้างานควรปฏิบัติเพิ่มเติม โดยแบ่งเป็น 3 ระยะของช่วงการประเมินผลงาน ดังนี้

ช่วงก่อนประเมินผลงาน
ช่วงระหว่างประเมินผลงาน
ช่วงหลังประเมินผลงาน

• ควรอยู่ในสถานที่ที่มีสมาธิ

ไม่มีเสียงดังรบกวน

• ควรทำความเข้าใจวิธีการและ

ปัจจัยที่ใช้ประเมินผลงาน

แต่ละหัวข้อ
• ควรพิจารณาให้คะแนนตาม

ปัจจัยแต่ละด้าน

• ควรมีเหตุผลประกอบการ

ประเมินแต่ละหัวข้อ

• ควรหลีกเลี่ยงอคติต่าง ๆ

ที่ได้กล่าวถึงแล้วในช่วงต้น
• ควรชี้แจงผลการประเมินให้

ลูกน้องรับรู้

• ควรทำข้อตกลงร่วมกันหรือ

แผนการทำงานร่วมกันระหว่าง

หัวหน้าและลูกน้อง



การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นหน้าที่งานที่สำคัญมากที่หัวหน้างานจะต้องตัดสินว่าลูกน้องของตนมีระดับผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร และเพื่อให้หัวหน้ามีข้อมูลที่ใช้ประเมินผลอย่างถูกต้องชัดเจน จึงขอแนะนำว่าให้หัวหน้าบันทึกความสามารถหรือผลงานของลูกน้องทั้งด้านดีและไม่ดี โดยอาจบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ หรือประจำเดือนก็ได้ อย่างน้อย ๆ หัวหน้างานจะได้มีข้อมูลที่จะชี้แจงลูกน้องของตนเพื่อสร้างความเข้าใจและความเห็นชอบตรงกันในผลการประเมิน





โดยคุณ ผู้หวังดี ( ประสงค์ร้าย ) (203.156.191.117) [30 Sep 2008 10:41] #41521 (7/16)

ปฏิบัติตนอย่างไร...ให้หัวหน้างานพอใจ

หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท/กิจกรรม หรือทำงานอิสระ (Freelance) แล้วล่ะก็ ทุกคนคงจะมีหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ให้คุณให้โทษแก่คุณ พบว่าลูกน้องหลายต่อหลายคนที่มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ก็เพราะหัวหน้างานที่คอยเป็นผู้ผลักดัน ช่วยเหลือ และอบรมพัฒนาให้มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้โอกาสแก่คุณได้แสดงฝีมือในการทำงาน

และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหัวหน้างานจะมีหลากหลายสไตล์ที่แตกต่างกันไป เช่น พวกที่จู้จี้ขึ้บ่น หรือพวกที่ชอบเอะอะโวยวาย เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่ดีสุดๆ แบบชนิดที่ว่า PERFECT ไปซะทุกเรื่อง ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ดิฉันอยากให้คุณมองตนเองก่อนว่าจะทำตัวอย่างไรให้หัวหน้างานพอใจ ทั้งนี้การปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องอยาก เพียงขอให้คุณเข้าใจความต้องการหรือธรรมชาติของผู้เป็นหัวหน้างานว่าพวกเค้าต้องการหรือมีธรรมชาติอย่างไร ซึ่งดิฉันได้สรุปเทคนิคในการปฏิบัติตนเพื่อให้หัวหน้างานพึงพอใจ ดังต่อไปนี้

A - Accuracy : ทำงานให้ถูกต้อง แม่นยำ
ไม่มีหัวหน้างานคนไหนอยากให้ลูกน้องทำงานผิด ๆ ถูก ๆ แก้แล้วแก้อีก แบบชนิดที่ว่าต้องคอยกำกับไปซะทุกเรื่อง หากคุณรีบทำงานและส่งงานมาให้ตรงหรือก่อนเวลาที่กำหนด แต่ผลงานที่ออกมานั้นต้องมีการแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่า งานชิ้นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในสายตาของหัวหน้างาน มันอาจจะส่งผลต่อผลการทำงาน (Performance) ที่ไม่ดีของตัวคุณเอง ดังนั้นดิฉันขอแนะนำว่าควรทำงานให้ถูกต้องแม่นยำจะดีที่สุด อย่าพยายามรีบนำส่งโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เพราะจะทำให้หัวหน้าคุณเริ่มไม่ไว้วางใจในตัวคุณ อย่าลืมว่าความไว้วางใจจะเกิดขึ้นจากผลงานที่คุณทำ ซึ่งหากหัวหน้างานเจอข้อผิดพลาดแล้วล่ะก็ เค้าอาจต้องลงมาควบคุมการทำงานคุณอย่างใกล้ชิด ชนิดที่ว่าคุณเองอาจจะอึดอัดใจหรือรำคาญใจเลยก็ว่าได้

C - Cooperation : ให้ความร่วมมือ และอาสาทำงาน
อย่าพยายามเกี่ยงหรือหลีกเลี่ยงงานที่หัวหน้ามอบหมายพิเศษ หรืออาจเป็นงานด่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพียงเพราะคิดว่าไม่อยากให้ใครมาเอาเปรียบ หรือคิดว่าทำไมไม่ใช้ให้อีกคนทำ เกรงว่าตนเองจะต้องอยู่ดึกดื่น หรือทำงานในวันหยุด ลูกน้องบางคนคิดว่าได้เงินแค่นี้ก็ทำงานในปริมาณเท่านี้ก็พอแล้ว ทำไมต้องอุทิศตนอะไรมากมาย ทำงานให้ดีแค่ไหน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ไม่รู้จะทำไปทำไม คุณรู้ไหมว่าหากคุณคิดแบบนี้ ก็เท่ากับว่าคุณปิดโอกาสในการเรียนรู้งานเพิ่มเติม ปิดโอกาสที่จะฝึกทักษะในการทำงานใหม่ ๆ และโดยเฉพาะปิดโอกาสที่จะแสดงศักยภาพหรือความสามารถให้หัวหน้างานเห็น และผลที่ตามมาก็คือ ค่าตัวหรือมูลค่า (Value) ของตัวคุณไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุของคุณเลย และผลในระยะยาวก็คือคุณจะมีความสามารถหรือทักษะที่จำกัดเฉพาะแค่งานที่ทำเท่านั้น ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าความสามารถในการทำงานของคุณ จะบ่งบอกถึงมูลค่าของคุณเอง ยิ่งคุณมีมูลค่ามากขึ้นเท่าไหร่ คุณยิ่งมีค่าตัวมากขึ้นเท่านั้น

F - Follow Up : ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
คงไม่มีหัวหน้างานคนไหนที่อยากจะมาจ้ำจี้จำไชลูกน้องทุก ๆ วัน หรือคอยติดตามสอบถามความคืบหน้าจากลูกน้องอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นลูกน้องเองควรจะติดตามงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานอย่างสม่ำเสมอ และรีบแจ้งความคืบหน้าให้หัวหน้าทราบทันที อย่ารอให้หัวหน้าต้องทวงถามหรือถามถึงก่อนอยู่บ่อยครั้ง แต่พยายามแจ้งความคืบหน้าหรือความก้าวหน้าของงานที่คุณเองได้ติดตามไป หากงานที่คุณกำลังติดตามมีปัญหาหรือข้อขัดข้องที่คุณไม่สามารถแก้ไขได้ ขอให้รีบแจ้งหัวหน้าของคุณเองเพื่อให้เค้ารับรู้ปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมงานที่มอบหมายถึงไม่คืบหน้าเสียที จงอย่าแบกรับปัญหาเอาไว้เองโดยที่หัวหน้างานของคุณไม่รับรู้อะไรเลย ดังนั้นการติดตามและแจ้งผลของงานให้หัวหน้าทราบ จะทำให้หัวหน้างานไม่ต้องคอยกังวลหรือถามไถ่งานจากคุณบ่อยครั้งนัก

L - Listening : ฟังให้เข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ
ลูกน้องหลายคน กลัวไม่กล้าถามหัวหน้างานหากไม่เข้าใจงานที่มอบหมายให้ หรือบางครั้งอาจคิดไปเองโดยไม่มีการสอบถามหรือทบทวนงานที่มอบหมายให้ทำ ในส่วนนี้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องคงจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน โดยหัวหน้าเองอาจจะสอบถามความเข้าใจจากลูกน้องว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน อย่างไรบ้าง และผู้ที่เป็นลูกน้องเองควรจะทวนโจทย์หรืองานที่นายมอบหมายให้ทำ อย่าเดาหรือคิดเอาเอง เพราะจะยิ่งทำให้เสียเวลาทั้งตัวลูกน้องเองเพราะจะต้องแก้ไขงานและนำส่งงานให้หัวหน้าใหม่ และหัวหน้าเองอาจต้องเสียเวลาในการตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นควรตั้งใจฟังพยายามจับประเด็นให้ได้ว่าหัวหน้างานต้องการให้ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร และต้องนำส่งงานให้หัวหน้างานเมื่อไหร่ และควรจะสอบถามเพิ่มเติมหากมีข้อสงสัย อย่าให้เป็นคำถามที่คาใจคุณ เพราะอาจทำให้คุณทำงานผิดพลาดไปได้

R - Respect : เคารพยกย่อง อ่อนน้อมถ่อมตน
ไม่ว่าหัวหน้างานจะเก่งหรือไม่เก่งกว่าคุณ หรือเป็นหัวหน้างานที่คุณเองไม่ถูกชะตาเอาซะเลย คนที่เป็นลูกน้องที่ดี ควรให้เกียรติหัวหน้างาน พยายามอย่าเอาเรื่องของหัวหน้าไปเมาส์หรือป่าวประกาศในทางเสียหาย อย่าพยายามพูดให้ใครต่อใครคิดและรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้างานของเราเอง การแสดงความเคารพนั้นยังหมายรวมถึงการยอมรับฟังในประเด็น หรือเหตุผลของหัวหน้างาน อย่าพยายามโต้เถียงเพื่อเอาชนะ จงยอมรับและปฏิบัติตามในผลสรุปที่หัวหน้างานเห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม นอกจากนี้การแสดงความเคารพยังหมายความถึงการใช้คำพูดกับหัวหน้างานคุณเอง จงระวังคำพูดที่สื่อสารออกไป บางครั้งคุณอาจจะสนิทสนมกับหัวหน้างานมากจนลืมไปว่าเค้าคือหัวหน้าของคุณเอง ซึ่งคำพูดที่สื่อออกไปอาจฟังแล้วไม่รื่นหู จนบางครั้งไม่รู้ใครเป็นหัวหน้าหรือลูกน้องกันแน่ และขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า คำพูดเปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งจะทำให้ผู้ใหญ่ชอบหรือไม่ชอบตัวเราจากคำพูดที่สื่อออกไป

S - Self Improvement : ปรับปรุงตนเอง สร้างความสำเร็จ
ลูกน้องที่ดีควรพยายามคิดหาวิธีการที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบงานของตนเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ พยายามคิดว่าจะช่วยงานของหัวหน้างานได้อย่างไรเพื่อให้หัวหน้างานเบาแรงและเบาใจ รวมทั้งควรรับฟังหัวหน้างานเมื่อหัวหน้างานชี้แจงข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่เค้าต้องการให้คุณปฏิบัติ อย่าถือโทษโกรธเคืองหัวหน้าของคุณเองเพียงเพราะเค้าเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ขอให้คุณมองให้ลึกซึ้งลงไปว่าการที่หัวหน้าคอยตักเตือนหรือสอนสั่งคุณ เหตุเพราะเค้าอยากให้คุณได้ดิบได้ดีในอนาคตข้างหน้า เค้าอยากให้คุณปรับปรุงและพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น การตักเตือนหรือต่อว่าการทำงานของคุณ ณ ตอนนี้ จะดีกว่าที่คุณไม่รู้เลยว่าคุณทำงานเป็นอย่างไร และเมื่อถึงเวลาประเมินผลการทำงาน หัวหน้างานอาจจะประเมินผลการทำงานของคุณไม่ดีหรือไม่เป็นไปอย่างที่คุณหวังหรือคิดไว้เลย

ดังนั้นในฐานะที่คุณเองเป็นลูกน้องคนหนึ่ง ขอให้คุณเริ่มมองตนเองว่าคุณปฏิบัติตนอย่างไรกับหัวหน้างานของคุณเอง และหัวหน้างานยอมรับคุณมากน้อยแค่ไหน หากสถานการณ์ระหว่างคุณกับหัวหน้างานไม่สู้ดีนัก คุณควรเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเสียใหม่ ยังไม่สายเกินแก้ที่จะปฏิบัติตนให้หัวหน้างานพอใจ พยายามสร้างรอยยิ้มและเสียหัวเราะในการทำงานร่วมกับหัวหน้างาน และในที่สุดคุณเองจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความสุขและสนุกกับการทำงานร่วมกับหัวหน้างานของคุณเอง





โดยคุณ ผู้หวังดี ( ประสงค์ร้าย ) (203.156.191.117) [30 Sep 2008 10:45] #41522 (8/16)

ประเมินให้เขาผ่านนะคะ สงสารเขาเราน่าจะพูดคุยกันได้อคติที่มีลืมมันไปนะคะยังไงเขาก็ลูกน้องคุณ ทำบุญด้วยการยินดีที่เขาก้าวหน้าในชีวิต ผลบุญมากนะคะคุณจะได้สบายใจด้วย อะไรที่ผิดพลั้ง คงไม่สายที่จะเริ่มต้นใหม่สามัคคีกันนะคะ อบต.จะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้นไป ไม่อยากให้ใครได้รับสิ่งไม่ดีจากองค์กรปกครอง

โดยคุณ ขอร้องนะคะ (203.113.20.132) [30 Sep 2008 11:49] #41524 (9/16)

คนตั้งกระทู้...ip203.113.20.132) คุณขอร้องนะและคุณนะธรรม คนเดียวกัน

โดยคุณ 123 (125.26.26.128) [30 Sep 2008 12:50] #41526 (10/16)

คุณ คุณนะธรรม ครับ คุณ ตอบคำถามได้ดีมากๆ เลย แสดงให้เห็นถึงจิตใจส่วนลึกของคุณได้อย่างชัดเจน ถ้าประเทศไทย มีคนอย่างคุณ สัก ครึ่งค่อนประเทศ ประเทศไทย เจริญไปมากกว่านี้อย่างไม่น้อยหน้าประเทศเจริญแล้วทั้งหลายในโลกฝั่งตะวันตกที่เขาเชื่อว่าประเทศเขาเจริญสุดๆ แล้วแน่นอน

โดยคุณ จริงใจ (210.246.178.51) [30 Sep 2008 13:01] #41527 (11/16)


ไปเที่ยวโลกตะวันตก มาแล้วหรือ ว่าแต่ว่า ไปประเทศไหน หรือค่ะ ที่ว่าเจริญ ๆ น่ะ คุณ นิติกร


โดยคุณ ไปมาแล้ว ( หรือ ) (203.156.191.117) [30 Sep 2008 14:53] #41534 (12/16)

ขัอบัญญัติท้องถิ่นหรือว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี จนท.วิเคราะห์ฯแต่ละแห่งอาจได้จับหรือไม่ก็ได้ แต่สรุปได้ว่าให้ขั้นปกติเขาไปเถอะ เพราะบางคนไม่มีความสามรถยังได้มากกว่า 1.0 ขั้น เลยครับ

โดยคุณ ผ่านมา (61.19.66.77) [2 Oct 2008 21:53] #41608 (13/16)

รู้นะ..ว่าใครไม่พอใจใคร (ศึกภายใน) ผู้ส่งข้อความเป็นผู้ไม่หวังดีแน่ๆ เป็นมือที่มองไม่เห็น แต่ที่สำนักงานเค้ารู้นะ แล้วทให้ผู้เสียหายและผูอ่านเข้าใจผิดหัวหน้า อย่าคิดมากนะหัวหน้า ควาลับไม่มีในโลก ขอบอก "จงอย่าเชื่อในสิ่งที่เขาเล่าว่า จนกว่าจะได้เห็นด้วยตา และได้สัมผัส ด้วยตัวของคุณเอง" ระวับาปกรรมนะ ผู้ส่งหัวข้อเรื่อง

โดยคุณ คุณน้ำท่วมปาก เอือกๆ Mail to คุณน้ำท่วมปาก เอือกๆ (203.113.20.132) [15 Oct 2008 11:05] #41916 (14/16)

ช่างเถอะ

โดยคุณ 212 (203.113.20.132) [16 Oct 2008 12:02] #41960 (15/16)

อือ

โดยคุณ 1245 (203.113.20.132) [16 Oct 2008 12:04] #41961 (16/16)

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ
ความคิดเห็น
โดย
Email (สมาชิกไม่ต้องใส่)
รหัสลับ   (นำไปป้อนช่อง ป้อนรหัส ด้านล่าง)
ป้อนรหัส


คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
Password
(สำหรับสมาชิก)
เลือกรูป

[ สมัครสมาชิก | ปิดหน้าต่างนี้ ]
CopyLEFT and Powered By : Sansak