ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาท้องถิ่น เพื่อคนไทยทุกคน

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ

ฐานความผิด“ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง”เช่น

เบิกค่าเช่าบ้านทั้งที่ไม่ได้พักอาศัยและชําระค่าเช่าจริง นอกจากนี้ได้เขียนรายงาน
การเดินทางไปประชุมอันเป็นเท็จเพื่อขอเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะในการเดินทาง (โทษให้ออก)

โดยคุณ ถถถถถ (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:17]




การตรวจรับพัสดุ
- ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยจงใจ


โดยคุณ ภภภภภภ (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:21] #65691 (1/5)

ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริตหรือเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายอย่างร้ายแรง ให้ด าเนินการ
ลงโทษอย่างต่ าปลดออกจากราชการ


โดยคุณ ยยยยยย (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:22] #65692 (2/5)

- ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือตรวจการจ้าง เป็นเท็จ หรือ ไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น พบเห็นความชารุดบกพร่องขณะที่กำลังตรวจรับงานหรือส่งมอบพัสดุไม่ครบ *แต่ตรวจรับว่าถูกต้องครบถ้วน เป็นต้น

โดยคุณ 555555555555555555555 (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:38] #65693 (3/5)

ธรรมาภิบาลท้องถิ่น
ที่มา https://th-th.facebook.com/kunseuacademicadvisingcenter/posts/625571834212228

หลักกฎหมายจากคดีปกครองวันละเรื่อง
เรื่องที่ ๑๙๗ การลงลายมือชื่อตรวจรับพัสดุโดยที่ผู้ขายไม่ได้ส่งมอบพัสดุถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๕๘๕/๒๕๕๖
สาระสำคัญ
ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ ตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ (ไม่มีทุ่งหญ้า) โครงการส่งเสริมการจัดทำไร่นาสวนผสม และโครงการส่งเสริมการปลูกพืชผัก มีหน้าที่ตรวจรับพัสดุที่มีการจัดซื้อจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. โดยกำหนดส่งมอบพัสดุที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. ภายในวันที่ ๑๙ วันที่ ๒๐ และ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ต่อมา คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ร่วมกันลงลายมือชื่อตรวจรับพัสดุตามใบตรวจรับพัสดุ รวม ๓ ฉบับ ว่า ได้ดำเนินการตรวจรับพัสดุไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว เห็นควรรับไว้ใช้ในราชการต่อไป โดยได้มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๗ และเขียนเช็ค สั่งจ่ายเป็นค่าพัสดุให้แก่ผู้ขายเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๗ เป็นเงิน ๑๐๑,๔๕๐ บาท แต่ภายหลังจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. ในเดือนธันวาคม ๒๕๓๗ แล้วพบว่าในวันที่กำหนดส่งมอบพัสดุดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไม่ได้ส่งมอบพัสดุให้แก่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. แต่อย่างใด ซึ่งผู้ฟ้องคดีก็ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าในวันที่มีการตรวจรับพัสดุนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไม่ได้นำพัสดุมาส่งที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่พัสดุไม่พร้อมที่จะรับของไว้ที่สำนักงาน ขอให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจรับไว้ที่ทำการของผู้ขายก่อน ผู้ฟ้องคดีจึงทำการตรวจรับ ณ ที่ทำการของผู้ขาย จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่า ในวันที่ผู้ฟ้องคดีทำการตรวจรับพัสดุ โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไม่ได้ส่งมอบพัสดุเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีทำการตรวจรับที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. ซึ่งเป็นสถานที่ที่กำหนดให้ทำการตรวจรับพัสดุแต่อย่างใด และถึงแม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าได้ทำการตรวจรับ ณ ที่ทำการของผู้ขายเนื่องจากเป็นช่วง ฤดูฝนเกษตรกรไม่พร้อมที่จะรับพัสดุ โดยจำไม่ได้ว่าได้ทำบันทึกเสนอเปลี่ยนแปลงสถานที่ตรวจรับไว้หรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานบันทึกดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ตรวจรับพัสดุได้ ดังนั้น จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีในฐานะ ประธานกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจรับพัสดุให้เป็นไปตามข้อ ๗๑ (๑) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ นอกจากนี้ การกระทำของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวทำให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าพัสดุจำนวน ๑๐๑,๔๕๐ บาท ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไปโดยที่ยังมิได้ส่งมอบพัสดุ จนกระทั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบ พฤติการณ์และการกระทำของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้อาศัยอำนาจหน้าที่ราชการในฐานะประธานกรรมการตรวจรับพัสดุทำการตรวจรับพัสดุโดยไม่ชอบเพื่อให้ตนเองหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและ เที่ยงธรรม อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๕ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และถึงแม้ภายหลังห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จะได้นำพัสดุมาส่งมอบให้แก่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ช. ครบถ้วนแล้วก็ตาม ก็มิได้ทำให้การกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำสำเร็จแล้วมีผลทำให้ไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ ได้วางแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ การนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืนหรือมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษลงเป็นปลดออกจากราชการ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) มีคำสั่งลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ ที่เพิ่มโทษผู้ฟ้องคดีเป็นไล่ออกจากราชการ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ (นายกรัฐมนตรี) มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รายงานการลงโทษลดขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดี ๑ ขั้น ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย) ตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหก แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณามีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ถือว่ากระบวนการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดียุติสมบูรณ์แล้ว และกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะรับฟังผลการสอบสวนพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อนำไปพิจารณาลงโทษได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังไม่ได้ดำเนินการตามกระบวนการทางวินัยในขั้นตอนการสอบสวนหรือยังไม่ได้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่สามารถเพิกถอนคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดี ๑ ขั้น และมีคำสั่งลงโทษที่หนักขึ้นได้เพราะเป็นกรณีความผิดสาเหตุเดียวกันและเป็นการลงโทษ ๒ ครั้ง ในความผิดเดียวกัน นั้น เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) ได้วางแนวปฏิบัติไว้ว่าในกรณีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจของข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งมติพร้อมรายงานการสอบสวนจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ผู้บังคับบัญชาจะต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางวินัยตามมาตรา ๑๐๔ แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยนำเรื่องเสนอ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาก่อน และเมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใดผู้บังคับบัญชาจึงสั่งลงโทษไปตามนั้น โดยถือว่าการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการสอบสวนใหม่หรือการสอบสวนเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และการลงโทษใหม่ตามฐานความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการเพิ่มโทษตามมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน มีผลให้โทษเดิมเป็นอันยกเลิกไป ซึ่งแนวปฏิบัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดังกล่าวเป็นการปรับใช้กฎหมายทั้งสองฉบับให้สอดคล้องกัน เพราะหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับรายงานและเอกสารพร้อมความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วไม่สามารถพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ ตามมาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๓ แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว ก็จะเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรา ๙๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจะทำให้การควบคุมตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐขาดประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกคำสั่งลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เพิ่มโทษผู้ฟ้องคดีเป็นไล่ออกจากราชการ ตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีซ้ำ ๒ ครั้ง และไม่ได้ปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แต่ประการใด ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจรับฟังได้ ส่วนกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ในคดีอาญาแม้ศาลจังหวัด ช. จะพิพากษาว่า ผู้ฟ้องคดีมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๖๒ (๑) (๔) แต่ในส่วนของการกระทำทุจริต ศาลจังหวัด ช. วินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีเจตนาทุจริต จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะเพิ่มโทษผู้ฟ้องคดีนั้น เห็นว่า การดำเนินคดีอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการกระทำของบุคคลในสังคมมิให้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดอาญาอันเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความสงบสุขของสังคมส่วนรวม โดยจะต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดแจ้งจึงจะลงโทษได้ ส่วนการดำเนินการทางวินัยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องถูกลงโทษตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงพอให้เชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดวินัยจริงจึงจะลงโทษได้ ดังนั้น กระบวนการพิจารณาเพื่อลงโทษทางวินัยจึงไม่จำต้องถือตามผลของคดีอาญาแต่อย่างใด เมื่อพฤติการณ์และการกระทำของผู้ฟ้องคดีรับฟังได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังที่ได้วินิจฉัยแล้ว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกคำสั่งลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ เพิ่มโทษผู้ฟ้องคดีเป็นไล่ออกจากราชการ จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ คำสั่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ที่ยกอุทธรณ์ผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้ยกฟ้อง
หลักกฎหมาย/บรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ
การที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ลงลายมือชื่อตรวจรับพัสดุโดยที่ผู้ขายไม่ได้ส่งมอบพัสดุให้ทำการตรวจรับ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ทำการตรวจรับพัสดุและไม่ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ตรวจรับพัสดุ ถือได้ว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และเมื่อมีการเบิกจ่ายเงินค่าพัสดุให้แก่ผู้ขายไปโดยที่ยังมิได้ส่งมอบพัสดุ พฤติการณ์และการกระทำถือเป็นการอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยไม่ชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้ขายได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๘๒ และมาตรา ๘๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ แม้จะได้มีการส่งมอบพัสดุในภายหลังก็มิได้ทำให้การกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำสำเร็จแล้วมีผลทำให้ไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ส่วนการพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ การที่ผู้มีอำนาจออกคำสั่งเพิ่มโทษจากปลดออกเป็นไล่ออกตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัยซ้ำ ๒ ครั้ง และกระบวนการพิจารณาเพื่อลงโทษทางวินัยก็ไม่จำต้องถือตามผลของคดีอาญา เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินการทางวินัยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ดังนั้น คำสั่งไล่ออกจากราชการจึงถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมาย


โดยคุณ สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสม (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:45] #65695 (4/5)

ก. วินัยไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
ข. วินัยอย่างร้ายแรง
4. ปลดออก
5. ไล่ออก


โดยคุณ tttttt (118.174.38.61) [11 Feb 2016 14:53] #65696 (5/5)

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ
ความคิดเห็น
โดย
Email (สมาชิกไม่ต้องใส่)
รหัสลับ   (นำไปป้อนช่อง ป้อนรหัส ด้านล่าง)
ป้อนรหัส


คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
Password
(สำหรับสมาชิก)
เลือกรูป

[ สมัครสมาชิก | ปิดหน้าต่างนี้ ]
CopyLEFT and Powered By : Sansak