ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาท้องถิ่น เพื่อคนไทยทุกคน

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ

ชำแหละกรมปกครองท้องถิ่น1

ชำแหละกรมปกครองท้องถิ่น (1)
(จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ ข้าราษฎร โดย สายสะพาย ฉบับ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10757 หน้า 26)
-------------------------------------------------------

ในวันที่ 23-25 สิงหาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดประชุมระดมความคิดเห็นและการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ด้านการวางมาตรการการป้องกันการทุจริต ณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ในการประชุมดังกล่าวมีเอกสารประกอบการประชุมหลายเรื่อง ที่จะหยิบยกนำมาเสนอคือรายงานโครงการศึกษาวิจัยการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานราชการไทย กรณีศึกษา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะผู้วิจัยได้สำรวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ราย พบว่าทัศนคติโดยรวมมีความเห็นว่าระดับการทุจริตกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในงานซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นั้นอยู่ในระดับปานกลาง

ทั้งนี้ มีความเห็นว่าด้านที่มีระดับปัญหาทุจริตมากที่สุดคือ ด้านการบริหารงานบุคคล รองลงมาคือด้านการจัดทำแผนงานโครงการ ด้านงบประมาณด้านการเงินและพัสดุ และด้านการตรวจสอบภายใน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างตรงกับข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลการสัมมนากลุ่มย่อยจำนวน 5 ครั้ง ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

คณะผู้วิจัยพบด้วยว่า บทบาทด้านการบริหารงานบุคคลของกรมที่มีต่อ อปท. มีกระบวนการทำงานที่ขาดความชัดเจน ขาดความโปร่งใส ขาดเอกภาพ และขาดประสิทธิภาพ ข้าราชการกรมยังคงผูกติดกับระบบความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจที่ถือว่าตนเป็นผู้อุปถัมภ์ต่อข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานส่วนท้องถิ่นมากกว่าจะเป็นผู้ให้บริการ

คณะผู้วิจัยพบว่าปัญหาการทุจริตในกรมส่งเสริมฯ ด้านการเรียกรับเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการโอนย้าย การปรับระดับข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นไปในระดับต่ำกว่าปัญหาด้านอื่น

ขณะเดียวกัน อปท.ขาดความเป็นอิสระในการเลือกหลักสูตรการฝึกอบรม และสถานที่ฝึกอบรมบุคลากร เนื่องมาจากติดขัดที่ระเบียบของกรมที่เป็นผู้วินิจฉัยความเหมาะสมของหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ

คณะผู้วิจัยพบว่าพื้นฐานของปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลมี 3 ประการ คือ โครงสร้างเชิงกฎหมายและระเบียบที่ให้อำนาจแฝงในการวินิจฉัย (Latent discretion) กับผู้ปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์การในเชิงระบบอุปถัมภ์ และตัวข้าราชการกรมซึ่งส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบต่อ อปท.


ชำแหละกรมปกครองท้องถิ่น (จบ)

(คอลัมน์ ข้าราษฎร โดย สายสะพาย หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10758 หน้า 26)


เมื่อตอนที่แล้วนำเสนอรายงานโครงการศึกษาวิจัยการทุจริตและประพฤติมิชอบกรณีศึกษา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1,200 ราย มีความเห็นว่ากระบวนการบริหารขาดความชัดเจน ไม่มีความโปร่งใส

ตอนนี้จะนำเสนอผลการศึกษาด้านอื่นต่อดังนี้

-ระเบียบปฏิบัติด้านแผนงานและโครงการมีความยุ่งยาก ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ที่มีขนาดเล็กมีปัญหาเนื่องจากขาดบุคลากรและประสบการณ์ด้านแผนงานและโครงการ ทำให้ต้องขอรับความช่วยเหลือจากข้าราชการเป็นช่องว่างทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์และการครอบงำความคิด

-กระบวนการการจัดสรรเงินอุดหนุนมีระดับปัญหาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปัญหาอื่น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวตรงกับผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมมนากลุ่มย่อย คือ ข้าราชการระดับสูงในกรมมีอำนาจอย่างมาก และจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจบางรายการมักเป็นไปตามแบบระบบอุปถัมภ์ และสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างระบบอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองระดับประเทศ ข้าราชการกับ อปท.มีผลทำให้เกิดการกีดกันการประกวดราคา

ปัญหาดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากการที่โครงสร้างเชิงกฎหมายและระเบียบที่ให้อำนาจแฝงในการวินิจฉัยกับผู้ปฏิบัติงานมากเกินไป

-บทบาทด้านการเงินการทำงานของข้าราชการกรมมีระดับปัญหาปานกลาง ในขณะที่การทำงานด้านพัสดุปัญหาในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์ยังคงมีอยู่

คณะผู้วิจัยได้เสนอแนวทางลดเงื่อนไขที่อาจนำไปสู่การทุจริตดังนี้

-แก้ไข พ.ร.บ.การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลชุดต่างๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ และเปลี่ยนรูปแบบจากไตรภาคีเป็นจตุภาคี โดยเพิ่มตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปเป็นกรรมการทุกชุด โดยมี***ส่วนจากภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการคัดสรรของบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพในแต่ละภูมิภาค รวมถึงให้เพิ่มอำนาจคณะกรรมการ มีหน้าที่ในการเห็นชอบพิจารณาอนุมัติหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร อปท.

-ให้กรมเป็นเจ้าภาพในการสร้างหลักเกณฑ์กรณีการรับโอนเข้าราชการท้องถิ่น พนักงานท้องถิ่น ใน อปท.ประเภทเดียวกัน และต่างประเภท ในจังหวัดเดียวกันหรือข้ามจังหวัดให้ชัดเจนและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงเร่งการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางให้เป็นปัจจุบัน และโปร่งใส เพื่อสามารถใช้เป็นข้อมูลด้านการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย

-ด้านงบประมาณเสนอให้อำนาจในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปบางชนิดให้เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการจัดสรร ซึ่งเป็นกรรมการเชิงจตุภาคี แทนที่จะให้ข้าราชการในกรม

-เปิดเผยแผนงาน โครงการที่ อปท.ส่งเข้ามาขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้ทราบ


จาก www.thailocalgov.com

โดยคุณ 555 (222.123.80.18) [1 Sep 2007 11:46]




ดีครับที่นำข่าวมาเสนอ ทั้งเวบที่ว่าก็ดูทุกวัน แต่อ่านหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้แล้ว ขอบคุณมากฯเลยครับ

โดยคุณ นายกครับ (203.113.56.72) [2 Sep 2007 09:29] #38643 (1/2)

แก้ปัญหาไม่ด้หรอก ยิ่งเพิ่มคน ก็ยิ่งต้องเพิ่มเงินมากขึ้น แย่หนักเข้าไปอีก มองปัญหาที่ปลายเหตุ คิดว่าแก้ได้หรือ ต้องทำลายที่ต้นเหตุ แต่ก็ยากเพราะคนออกกฎหมายเป็นนักการเมือง เขาสร้างกฎหมายได้ สร้างช่องโหว่ได้ เพื่อไว้เป็นฐานทางการเมืองต่อไป ถ้าอ่านแล้วคิดตามได้แค่นี้ ก็รับกรรมไปนะประชาชนเอ๋ย ถ้าแน่จริงอย่าให้นักการเมืองทุกประเภทมีอำนาจนอกจากเสนอข้อกฎหมายสิ และลงโทษข้าราชการที่คอยขออำนาจจากนักการเมืองด้วย รับรองสังคมนี้น่าอยู่กว่านี้เยอะ

โดยคุณ คนที่มองเห็นสังคมปัจจุบันแล้วเอือมระอา (203.113.106.10) [13 Oct 2007 03:07] #38921 (2/2)

ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ
ความคิดเห็น
โดย
Email (สมาชิกไม่ต้องใส่)
รหัสลับ   (นำไปป้อนช่อง ป้อนรหัส ด้านล่าง)
ป้อนรหัส


คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
Password
(สำหรับสมาชิก)
เลือกรูป

[ สมัครสมาชิก | ปิดหน้าต่างนี้ ]
CopyLEFT and Powered By : Sansak